วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

3.3 ยุค 5G/6G , Iot , AI

3.3 ยุค  5G/6G ,  Iot  , AI

      5G เหนือกว่า 4G อย่างไร?

  • ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที เนื่องจากมีความหน่วงที่ต่ำ ตอบสนองได้ไวถึง 1 ส่วนพันวินาที
  • รองรับการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
  • เร็วแรงกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ซึ่งเร็วมากพอที่จะดูวิดีโอ 8K ออนไลน์แบบ 3 มิติ หรือดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ในภาย 6 วินาที
  • ความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า 5G จะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน
  • รองรับการใช้งานที่มากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.

เทคโนโลยี 5G กับทิศทางของโลกในอนาคต เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ...

       ประโยชน์ของ 5G

   สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย

  นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต

6g คือความเร็วแห่งอนาคต

6g คือ เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแห่งโลกอนาคตโดยแท้จริง เพราะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนที่ได้เองวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้เอง จากการสืบค้นข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยในยุค 6g นั้นจะเป็นยุคที่การสื่อสาร ได้รับการแก้ไขในเรื่องคลื่นรวมทั้งการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาผสมผสาน สำหรับความน่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือ เมื่อระบบ AI นั้นทำงานผ่าน Application ไปได้สักพักหนึ่ง มันก็จะเริ่มเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น เรียนรู้เรื่องการขับยานพาหนะ, เรียนรู้เรื่องการทำการเกษตรและเมื่อมันสะสมความรู้ได้มากพอหลังจากนั้นก็จะเกิดการตัดสินใจได้ด้วยตัวเองตามมา

Xiaomi กำลังพัฒนา 6G และอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม | Flashfly Dot Net

เท่านั้นยังไม่พอระบบ AI ก็จะมีการสั่งการจากการเรียงลำดับของข้อมูลที่ผ่านเข้ามา พร้อมเลือกการตัดสินใจที่มันคิดว่าดีที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมหาศาล และทางระบบก็จะมีการปรับตัวให้เข้ากับการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การขับขี่รถยนต์แบบอัตโนมัติด้วย AI ซึ่งสั่งการให้มันขับในเส้นทางเดิมทุกวันก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าในวันหนึ่งคุณต้องการที่จะต้องให้มันขับรถออกนอกเส้นทาง คราวนี้ระบบก็จะต้องมีการดึงข้อมูล เพื่อประมวลผลแผนที่พร้อมทั้งคำนวณเส้นทางในการเดินทาง ทำให้เกิดการตัดสินใจในระดับใหญ่ขึ้น เพราะฉะนั้นก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ข้อมูลที่ส่งมานี้จัดเป็นแนวทางในการสร้าง 6g ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริงๆ ก็คงจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์และอำนวยความสบายให้ได้มากขึ้นเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

Internet of Things หรือ IoT คืออะไร

        Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น

      กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้

     นอกจากนั้น Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลของคุณผ่านทางออนไลน์ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้งานบ่อยๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Internet of Things สมัยนี้ผู้ใช้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ คือ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม ทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แถมยังมีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากหลาย ช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flash drive ต่างๆ


 ศูนย์การฝึกอบรมออนไลน์ BSRU-ITC

ยุค AI

     AI คืออะไร คำนี้เราได้ยินกันมานานแสนนาน อาจจะถี่หน่อยก็ช่วงที่ผ่านมา ครั้งแรกที่ได้ยินคุณนึกถึงอะไร หลายคนอาจติดภาพของหุ่นยนต์ปัญญากลที่เราเคยเห็นจากในจอโทรทัศน์และภาพยนตร์ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรา แต่บอกได้เลยว่าเราใช้ AI อยู่ในชีวิตแทบทุกวันโดยไม่รู้ตัว เพราะมันแทรกซึมไปทุกภาคกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การผลิต การแพทย์ การคมนาคมและอีกหลายๆ ด้าน แม้กระทั่งการติดต่อสื่อสาร การตลาด การขาย และการบริการลูกค้า หากพูดถึงสิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ล้ำยุคที่เกิดจาก  AI ขณะนี้ยังมีอยู่ในตลาดโลกเพียง 5% แต่จากนี้ไปจะสำคัญกับทุกภาคธุรกิจต่อไปอีก 5-20 ปีข้างหน้าเลยทีเดียว ทีนี้คุณพอจะรู้ตัวแล้วรึยังว่า AI แค่ 5% ที่ว่านั้นอยู่ในชีวิตคุณจริงๆตรงไหนบ้าง

AI มาจากไหน?

      คำว่า AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ถือเป็นศาสตร์วิทยาการทางคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยต่างลงมือทุ่มเทสุดตัวพยายามพัฒนาทำให้สิ่งนี้ฉลาด เหมาะสม และบริบูรณ์ด้วยความสามารถอันเปี่ยมล้น ศาสตร์นี้ไม่ได้เพิ่งจะมาพัฒนากันไม่กี่ปี หากแต่แนวความคิดนี้มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และถูกพัฒนาส่งต่อมากว่าหลายร้อยปีจนมาถึงยุคปัจจุบัน เราเชื่อว่าจากนี้ไปในปี  2018 ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ จนคุณแทบจะลืมไปเลยว่าก่อนหน้านี้เราต่างเคยใช้ชีวิตกันยังไงโดยที่ไม่มีเจ้านวัตกรรมใหม่นี้ขึ้นมา

    การทำงานของ AI คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีตรรกะการคิดเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนของมนุษย์ที่มีความชาญฉลาด สามารถทำงานหรือใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาในด้านความเป็นเหตุเป็นผล โดยเชาว์ปัญญานั้นสามารถแสดงเหตุผล การเรียนรู้ การวางแผนหรือนำเสนอความสามารถอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น การประมวลผลจากข้อมูลที่เราให้ไป หรือการแสดงผลอัตโนมัติจากข้อมูลที่มีอยู่ เรียกได้ว่าเลียนแบบโครงข่ายประสาทของสมองของมนุษย์เลยทีเดียว ซึ่งในปัจจุบันการทำงานของ  AI มีความแม่นยำสูงมาก จนแทบไม่พบข้อมูลผิดพลาด ทั้งยังสามารถทำงานได้ในระยะเวลาที่กำหนด และทำได้ตลอดเวลา 24 ชม. 7 วันเลยทีเดียว

สรุปแล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทกับคนทั้งโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันคือสิ่งประดิษฐ์ที่สุดยอดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์

เทคโนโลยี AI กับ Localization แบบไทยๆ ปรับใช้ตรงไหนได้บ้างในอนาคต



3.2 Big Data

                                     

                                    3.2 Big Data

Big Data คือ การที่เราเริ่มก้าวจากการให้ความสนใจกับประโยชน์ในการใช้ข้อมูลอย่างแท้จริง จนทำให้เกิดความเข้าใจว่า เราควรต้องมีระบบในการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีและสามารถรองรับการเติบโตของข้อมูลที่จะวิ่งไปถึงปริมาณใหญ่ๆ จนสามารถจัดการข้อมูลได้ถึงระดับ real-time และลดการใช้แรงงานในการประมวลผลข้อมูล สร้างรายงาน หรือการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลขนาดใหญ่มากจนซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถที่จะจัดการหรือวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

Volume (ปริมาณ) : องค์กรต่างๆ รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง ซึ่งรวมถึงธุรกรรมของธุรกิจ อุปกรณ์อัจฉริยะ (IoT) อุปกรณ์อุตสาหกรรม วิดีโอ โซเชียลมีเดีย และอื่นๆ ในอดีต การจัดเก็บข้อมูลถือเป็นปัญหาใหญ่ – แต่เมื่อค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น พื้นที่จัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง (Data Lake) และ Hadoop ลดลง ภาระนี้จึงบรรเทาลง

Velocity (ความเร็ว) : ด้วยการเติบโตของ Internet of Things ข้อมูลจะถูกส่งไปยังธุรกิจต่างๆ ด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อนและต้องได้รับการจัดการในเวลาที่เหมาะสม แท็ก RFID, เซ็นเซอร์ และสมาร์ทมิเตอร์ช่วยผลักดันความต้องการในการจัดการกับกระแสข้อมูลเหล่านี้ในแบบเรียลไทม์

Variety (ความหลากหลาย) : ข้อมูลมีในทุกรูปแบบ นับตั้งแต่ข้อมูลที่มีโครงสร้าง ตัวเลขในฐานข้อมูลแบบดั้งเดิม ไปจนถึงเอกสารข้อความ อีเมล วิดีโอ เสียง ข้อมูลหุ้น และธุรกรรมทางการเงิน

Image for post
เพิ่มคำบรรยายภาพ

3.1นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล Data Science

3.1 นักวิทยาศสาตร์ข้อมูล Data science

"นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล" หรือ "Data Scientists" กันมาบ้าง โดยเฉพาะเว็บไซต์หรือสื่อหลายแห่งทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เปิดประเด็นว่าเป็นอาชีพสุดฮ็อตที่ทุกองค์กรต้องการตัว อีกทั้งอาชีพนี้ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสาขาอาชีพที่มาแรงที่สุดแห่งยุคและเป็นอาชีพที่เซ็กซี่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 จากผลการสำรวจและวิเคราะห์ของหลายสำนัก

Data Science คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริ

DataScienceประกอบขึ้นจากศาสตร์หลักๆคือHackingSkill,Substantive Expertise, Presentation,Visualization 

ผลลัพธ์ที่ได้จาก Data Science 
- ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากข้อมูลที่ได้
- ได้ Predictive Model เพื่อนำไปปฏิบัติจริง
- สร้าง Data Product ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
- ช่วยให้ฝ่ายธุรกิจมีความมั่นใจและสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น

ที่มาของตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) 
ตำแหน่งงาน Data Scientist ถูกตั้งขึ้นโดย  DJ Patil และ Jeff Hammerbacher ในปี 2008 โดยทั้งคู่เป็น ผู้บุกเบิกการสร้างทีม Data Science ที่ LinkedIn และ Facebook และตอนนี้ DJ Patil ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Chief Data Scientist of the United States 

ทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ต้องมี 

  1 ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
  2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math&Statistics)
  3 ความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge)
  4 ความอยากรู้อยากเห็นและความคิดสร้างสรรค์ (Curiosity & Creativity)

งานคลิปตัดต่อ